Skip to content

คู่มือคัดเลือกรถโดยสารไม่ประจำทาง ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

คู่มือนี้จะช่วยสร้างความรู้พื้นฐานในการคัดเลือกรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย

การประเมินคุณภาพรถและพนักงานขับรถในลักษณะ Check list ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

ทำไมต้องเลือกรถโดยสารไม่ประจำทางที่ปลอดภัย

การเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว (ไม่ประจำทาง) ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มทั้งจำนวนและระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สะท้อนได้จากจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตต่อครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จะมีครอบครัวผู้โดยสารเกือบ 2,000 ครอบครัว ทุกปีที่ต้องได้รับผลกระทบจากอุบัติหตุของรถโดยสารสาธารณะ

สาเหตุและความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรง

  1. งบประมาณสนับสนุนกิจกรรมการเดินทางไม่เพียงพอ ส่งผลให้จ้างรถทัศนาจรราคาถูกที่ขาดคุณภาพและไม่ปลอดภัย มาตรการที่ สพฐ. ดำเนินการอยู่ คือ การขอความร่วมมือจากโรงเรียนในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา โดยให้คัดเลือกพนักงานขับรถและเลือกรถทัศนาจรที่มีคุณภาพ รวมถึงไม่ออกเดินทางในเวลากลางคืน
  • พนักงานขับรถและผู้โดยสาร

พนักงานขับรถ

  1. ความอ่อนล้า จากการขับขี่รถทางไกลต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  2. ขาดประสบการณ์และความชำนาญการขับขี่รถโดยสาร (โดยเฉพาะรถ 2 ชั้น)
  3. ไม่ชำนาญเส้นทางและใช้ความเร็วไม่เหมาะสม

ผู้โดยสาร

  1. บรรทุกเกินจำนวนที่นั่ง
  2. ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการเดินทาง

ยานพาหนะ

  1. รถบางคันไม่พร้อมใช้งาน ซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามกำหนด
  2. รถโดยสาร 2 ชั้นที่จดทะเบียนก่อน ปี พ.ศ. 2566 ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการทดสอบพื้นเอียง (อนุโลมให้นำไปติด GPS เพื่อควบคุมความเร็ว แต่ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการทรงตัว)
  3. ไม่มีเข็มขัดนิรภัย หรือมีแต่ใช้การไม่ได้

คำแนะนำในการเลือกใช้รถโดยสารไม่ประจำทาง

การคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งและพนักงานขับรถ

  1. การเลือกบริษัทรถที่เป็นนิติบุคคล ที่มีระบบการดูและช่วยเหลือและมีความน่าเชื่อถือ
  2. สภาพของรถโดยสาร ผู้ว่าจ้างต้องตรวจสอบว่ามีความเหมาะสมและปลอดภัยในการเดินทาง ควรเป็นรถโดยสาร
    ชั้นเดียว  มีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งและใช้การได้ ควรมีเบาะที่นั่งยึดติดกับที่มีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง
  3. พนักงานชับรถ ต้องคุ้นเคยเส้นทาง หากขับระยะทางเกิน 400 กิโลเมตร หรือขับต่อเนื่องนานเกิน 4 ชั่วโมง ต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หากมีคนเดียว จะต้องมีการระบุจุดจอดพักรถไม่น้อยกว่า 30 นาที ทุก ๆ 4 ชั่วโมง

ก่อนการเดินทาง

  1. คณะเดินทางต้องศึกษาเส้นทางและวางแผนการเดินทาง เลือกเส้นทางที่ปลอดภัย และควรเผื่อเวลาเดินทางให้เพียงพอไม่เร่งรีบเกินไป ผู้โดยสารต้องทราบสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายใต้กรรมธรรม์ที่ทำไว้ก่อนเดินทาง และแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไว้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยเหลือยามเกิดอุบัติเหตุ
  2. ตรวจสอบรายงานสมุดประจำรถ ผู้รับจ้างปฏิบัติตรงกับที่ทำสัญญาหรือไม่ เช็คประวัติการเดินทาง และคำนวณเวลาพนักงานขับรถที่เดินทางล่าสุด ถ้าพบว่าพักผ่อนไม่เพียงพอหรือมีการเดินทางต่อเนื่อง ห้ามเดินทาง

ระหว่างเดินทาง

  1. ระหว่างเดินทางต้องกำกับไม่ให้พนักงานชับรถ ขับเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด และแซงรถอื่นอย่างผิดกฎหมาย (ไม่ควรเร็วเกิน 90 กม./ชม.) ถ้าผู้ประกอบการมีระบบ GPS ก็จะสร้างความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  2. สังเกตกิริยาอาการของพนักงานขับรถว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมขับขี่
  3. การปฏิบัติตัวของผู้โดยสาร ควรคาดเข็มขัดตลอดเวลา แม้ในขณะนอนหลับ
  4. ถ้าเกิดอุบัติเหตุผู้เสียหายสามารถเรียกร้องการชดเชยกับพนักงานขับรถ เจ้าของบริษัทรถโดยสารคันที่เกิดเหตุและบริษัทประกันภัย

เอกสารอ้างอิง:

nopparat. (2567). คู่มือคัดเลือกรถโดยสารไม่ประจำทาง ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=372069

เรื่องที่คุณอาจสนใจ